Quiet Quitting vs Quiet Firing

Quiet Quitting คืออะไร

Mysterious young pretty woman shows shush gesture demands silence holds mobile phone sends text messages wears round spectacles and knitted sweater isolated over pink background mock up space

Quiet Quitting หรือการลาออกแบบเงียบ ๆ นั่นมิใช่การลาออกจากงานแต่อย่างใด แต่เป็นการนำเอากฎระเบียบและข้อบังคับในการปฏิบัติงานมาใช้เป็นตัวกำหนด เช่น ชั่วโมงการทำงาน หรือขอบเขตการทำงาน เป็นต้น ตัวอย่างเช่น งดการติดต่อหรือพูดคุยเรื่องงานนอกชั่วโมงการทำงาน การแยกกล่องข้อความชัดเจนระหว่างเรื่องงานและเรื่องส่วนตัว ไม่ทำงานที่มิได้อยู่ในขอบเขตการจ้างงานที่ระบุไว้ในสัญญาจ้าง เป็นต้น ซึ่งหากถามว่า เป็นเรื่องที่ผิดไหม คำตอบคือไม่ผิด แต่ในทางปฏิบัติก็อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานและผลการดำเนินงานขององค์กรได้

ซึ่งโดยส่วนมากการนำเอา Quiet Quitting มาใช้ มักจะเกิดจากความพยายามสร้าง Work-Life Balance ในช่วงต้น การติดต่องาน สั่งงาน หรือพูดคุยเรื่องงานนอกเวลางาน เป็นสิ่งที่พึงปฏิบัติ แต่กรณีที่มีเรื่องเร่งด่วน จำเป็น บางครั้ง “ผู้เกี่ยวข้อง” ก็อาจจำเป็นต้องรับรู้ เพื่อให้สามารถตัดสินใจและแก้ไขได้อย่างทันท่วงที หรือแม้กระทั่งขอบเขตการทำงาน เมื่อแต่ละคนอยากเติบโตไปในสายงานของตนเอง จะทำงานตามความรับผิดชอบของตนที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างก็คงไม่ได้ เพราะเมื่อได้รับการเลื่อนตำแหน่ง ก็ต้องมีความรับผิดชอบเพิ่มมากขึ้น รายได้เพิ่มขึ้น เป็นสิ่งที่แปรผันตามกัน

ดังนั้น เมื่อพนักงานเลือกใช้ Quiet Quitting ในการทำงาน หัวหน้างานและ HR ก็มักจะมีมาตรการในการจัดการกับบุคคลที่ไม่สามารถส่งมอบผลงานตามที่ตกลงกันไว้ได้ ไม่ว่าจะเป็น KPI หรือ OKR ก็ตาม แต่หากพนักงานสามารถส่งมอบผลงานตามที่ตกลงกันไว้ได้ ก็จะไม่มีปัญหา เพราะทุกคนได้รับการจ้างงานมาให้ทำงานในชั่วโมงทำงานของตน ตามขอบเขตการทำงานของตน การทำงานเกินเวลา หรือเกินหน้าที่ เป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ของทั้งนายจ้างและลูกจ้าง เพราะจะเกิดต้นทุนแฝงอื่น ๆ ตามว่า ไม่ว่าจะเป็นค่าล่วงเวลา ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าสถานที่ รวมถึงค่ารักษาพยาบาล อีกด้วย

Quiet Quitting จะเป็นปัญหาเมื่อใด

นายจ้างจะเห็นว่า Quiet Quitting เป็นปัญหา ก็ต่อเมื่อพนักงานไม่สามารถส่งมอบผลงานได้ตามที่ตกลงกันไว้ อย่าลืมว่านายจ้างและ HR คาดหวังว่าพนักงานที่จ้างมาต้องสามารถทำงานได้ในขอบเขตการจ้างงาน และในเวลาทำงานที่กำหนดไว้อีกด้วย หากเราไม่ทำงานนอกเวลางาน ไม่ทำงานนอกขอบเขตการจ้างงาน สุดท้าย หากเราไม่สามารถส่งมอบผลงานได้ตามที่กำหนด คนผิดคือเรา เพราะเราทำไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่ควรทำได้

หากกลับมาพิจารณาว่าเวลาทำงานของเราปกติ 9-5 พัก 1 ชม แปลว่าเราต้องใช้เวลาทำงานทั้งหมดวันละ 7 ชั่วโมงเต็ม ๆ นั่นหมายความว่า ทุกคนต้องมาถึงเตรียมพร้อมก่อนเวลาเริ่มงาน และใช้เวลาพักเพียง 1 ชั่วโมงเท่านั้น ไม่มีเบรกชงกาแฟ เดินไปซื้อขนม รวมถึงพูดคุยกับเพื่อนร่วมงานเรื่องอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับงานอีกด้วย

ซึ่งหากจะนำเอากฎกติกาการจ้างงานมาใช้ ก็ต้องใช้ให้ครอบคลุมทั้งสองฝ่ายเพื่อความยุติธรรมกับทั้งนายจ้างและลูกจ้างทั้งสองฝ่าย รวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายด้วย จะไม่มีการกลับบ้านก่อนเวลาเมื่องานเสร็จ หรือนั่งเฉย ๆ เพื่อรอเข้าประชุมอีกต่อไป

เมื่อมีการนำเอา Quiet Quitting มาใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้น ประสิทธิภาพการทำงานที่ลดลงทำให้นายจ้างและ HR ต้องเลือกมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้องค์กรทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป การนำเอา technology ตลอดจนเครื่องมือต่าง ๆ มาใช้เพื่อติดตาม วัดผลการทำงานของพนักงาน หรือแม้กระทั่งให้อิสระกับพนักงานโดยไม่กำหนดสถานที่ทำงาน เป็นต้น โดยเลือกที่จะวัดผลการทำงานเป็นสำคัญ

การตอบโต้ Quiet Quitting

เมื่อมีผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของบริษัท นายจ้างและ HR ก็ต้องพิจารณานำเอามาตรการต่าง ๆ มาใช้ ไม่ว่าจะเป็น Quiet Firing หรือ Quiet Hiring ตลอดจนมาตรการอื่น ๆ อีกมากมาย

Quiet Firing ก็คือส่วนหนึ่งของมาตรการบีบให้ลาออกไปเอง โดยการลดบทบาท ลดความสำคัญ หรือย้ายบุคคลนั้น ๆ ไปทำงานในสิ่งที่ไม่ถนัด ไม่สามารถส่งมอบผลงานได้ เป็นต้น ซึ่งในกรณีนี้ หากบุคคลนั้น ๆ รู้ตัว และมีความสามารถก็อาจจะเริ่มมองหางานใหม่ แล้วลาออกไปเองได้ แต่หากบุคคลนั้นไม่รู้ตัว หรือไม่มีความสามารถ บริษัทก็จะยังมีบุคคลนี้เป็นพนักงานต่อไป เป็นทั้งภาระให้องค์กรและคนในทีม ซึ่งสุดท้ายก็อาจจะกลายเป็น Toxic ให้กับการทำงานร่วมกับคนอื่น ๆ ได้อีกด้วย

Group of Asia young creative people in smart casual wear smiling and thumbs up in creative office workplace. Diverse Asian male and female stand together at startup. Coworker teamwork concept.

Quiet Hiring ก็คือการขยายขอบเขตงาน หรือการมอบหมายงานสำคัญต่าง ๆ ให้กับพนักงานคนหนึ่ง เพื่อให้เรียนรู้และมีโอกาสในการพัฒนาตนเองต่อไป ซึ่งเหมือนจะเป็นเรื่องที่ดี แต่การมอบหมายงานหรือเพิ่มงานให้แบบเงียบ ๆ ไม่มีการชี้แจ้ง ไม่บอกสาเหตุที่ชัดเจน ความไม่ชัดเจนก็อาจเป็นบ่อเกิดของการตีความไปในทางต่าง ๆ ซึ่งสุดท้ายอาจกลายเป็นตีความว่า ตนเองไม่เป็นที่ต้องการขององค์กร เพราะไม่ได้รับมอบหมายให้ทำงานที่เป็น Core Competencies ของตนเอง แต่ให้ไปทำงานอื่น ซึ่งง่ายกว่า เพราะแต่ละคนให้ความสำคัญกับแต่ละอย่างไม่เหมือนกัน

การเปลี่ยนแปลงและความไม่ชัดเจน มักเป็น Toxic เสมอ การสื่อสารที่ดี ต้องถูกต้องและชัดเจนในเวลาเดียวกัน ไม่ปล่อยให้แต่ละคนคิดและตีความกันไปเอง โดยเฉพาะกับการที่คุณมี Talent ที่ต้องสร้างและรักษาเพื่อความยั่งยืนขององค์กร คนเก่งมีที่ไปเสมอ เค้าอาจจะเพียงแค่รออะไรบางอย่างเท่านั้น เมื่อถึงเวลาองค์กรจะสูญเสียคนเก่งไปโดยไม่รู้ตัว ไม่ใช่แค่ Quiet Quitting แต่เป็น Quiet Leaving การลาออกโดยไม่มีสัญญาณบอกเหตุ