ปี 2562 เพิ่งสิ้นสุดไป เราเพิ่งก้าวเข้าสู่ปีใหม่ได้ไม่กี่วัน หลายคนอาจได้ยินข่าวเกี่ยวกับการล้มเหลวของ Start-up มากมายทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เฉพาะในประเทศไทย ข่าวใหญ่สะเทือนวงการมากที่สุดน่าจะเป็นการประกาศปิดตัวของ DTAC Accelerate โดย DTAC Accelerate ให้เหตุผลในการปิดตัวครั้งนี้ว่าตลอดระยะเวลา 7 ปีที่บริษัทดำเนินการมา บริษัทขาดทุนมาตลอด ไม่ทำเงินเลยนั่นเอง หากเราไปดูข้อมูลโดยละเอียด บริษัท DTAC Accelerate จัดตั้งขึ้นในปี 2557 ปีแรกมีกำไรจากการระดมทุน 15 ล้านบาท ปี 2558 บริษัทมีรายได้เพียง 85,549 บาท ขาดทุน 7 ล้านบาท แม้ว่าในปีต่อ ๆ มา บริษัทจะมีกำไรหลักล้านบาท แต่มีผลขาดทุนสะสมมากขึ้นเรื่อย ๆ จนในปี 2561 มีการขาดทุนสะสม เกือบ 40 ล้านบาท (รวบรวมโดย Marketeer, มกราคม 2563) ตลอดระยะเวลาที่บริษัทดำเนินงานมา บริษัทได้ให้ทุน Start-up ที่ชนะจากการเข้าร่วมในการแข่งขันมากมายกว่าครึ่งร้อยโครงการ แต่มีเพียงโครงการเดียวที่บริษัทสามารถขายให้กับ OOKBEE ได้ นอกนั้นยังเป็นโครงการที่ต้องการการลงทุนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ไม่โฟกัสที่การทำกำไร
นอกจาก DTAC Accelerate แล้ว เรายังมีการแข่งขัน Start-up มากมายที่ได้รับการสนับสนุนจากทั้งภาครัฐและเอกชนของไทย DTAC Accelerate เป็นหนึ่งในผู้จัดการแข่งขันและ Private Fund สำหรับ Start-up รายใหญ่ที่สุดรายหนึ่งของไทย ซึ่งก่อตั้งขึ้นพร้อม ๆ กับ Krungsri Rise, AIS, DEPA, Start-up Thailand ฯลฯ ผู้ชนะในการแข่งขันเหล่านี้ ได้รับเงินทุนไปดำเนินโครงการของตนโดยผู้ให้ทุนหวังว่าจะก่อให้เกิดเป็น Unicorn Start-up ของประเทศไทย แต่ในความเป็นจริง Start-up เหล่านี้ ก็เข้าร่วมการแข่งขันของบริษัทอื่น ๆ ต่อไปเพื่อหาเงินทุนไปเรื่อย ๆ โดยไม่ได้โฟกัสไปที่การบริหารกิจการของตนเองให้มีกำไร Founder ของ Start up เหล่านี้ก็จะวนไปขึ้นเวทีต่าง ๆ เพื่อหาเงินทุนมาเพิ่มในกิจการของตน
นอกจาก Start-up สัญชาติไทยที่ไม่โตเพราะติดกับดักนี้แล้ว ก็ยังมีข่าว Start up ยักษ์ใหญ่ต่างชาติที่มีการดำเนินการในประเทศไทยก็อีกมากมายที่ไม่ล้มเหลว ก็ไม่โต อยู่ในสถานะที่เรียกว่า “ซอมบี้” ซึ่งอาจจะเลือกเองหรือโดนบังคับให้อยู่ในสถานะนี้
เรามาพิจารณา Start-up ที่ล้มเหลวหรืออยู่ในสถานะซอมบี้ เราจะเห็นว่า Start-up กลุ่มนี้มักจะขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี และมักจะคิดถึงเพียงว่าทำอะไรได้บ้าง Start-up กลุ่มนี้มักจะลืมนึกถึง Bottom Line ในการบริหารธุรกิจต่าง ๆ ซึ่งก็คือการสร้างกำไรนั่นเอง ยังไม่พูดต้องถึงการสร้างกำไรสูงสุดซึ่งเป็นเป้าหมายของนักเศรษฐศาสตร์ หรือการทำยอดขายให้ถล่มทลายของนักการตลาด
โดยส่วนตัวเห็นว่า จริง ๆ แล้วมีเหตุผลเพียงสองข้อเท่านั้นที่ทำให้สตาร์ทอัพต่าง ๆ ไม่ประสบความสำเร็จ อันได้แก่:
- ธุรกิจของสตาร์ทอัพนั้น ๆ ไม่สามารถทำได้ — สตาร์ทอัพหลายแห่งไม่เข้าใจวิธีการบริหารกิจการหรือโมเดลธุรกิจของตนเอง บางแห่งไม่สามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้ บางแห่งไม่มีการจัดการต้นทุนและบริหารรายได้ที่ดีทำให้ต้นทุนสูงกว่ารายได้ที่มีกิจการก็จะไปไม่รอด มากไปกว่านั้น สตาร์ทอัพหลายแห่งไม่ได้ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ของเค้า ทำให้ไม่สามารถทำกำไรได้ เนื่องจากผู้ใช้ไม่ต้องการจ่ายเงินให้กับนวัตกรรมที่สร้างขึ้น นั่นคือ สินค้าของพวกเขาไม่เป็นที่น่าปรารถนาของผู้ใช้ หรือผู้ใช้สามารถหาสินค้าอื่นมาทดแทนได้ง่าย เหมือน e-commerce หลายแห่งที่จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีกำไร ทั้งยังต้องเฉือนเนื้อตัวเองเพื่อสร้าง Transaction ให้เกิดขึ้นในเว็บไซต์ของตนเองเพื่อให้ผู้ขายและผู้ซื้อยังอยู่บนแพลทฟอร์มของตนเองต่อไป โดยหวังว่าในอนาคต เมื่อผู้ใช้ติดการใช้งานแพลทฟอร์มของตนก็จะอยู่และทำธุรกรรมต่าง ๆ บนแพลทฟอร์มของตนและจะสร้างกำไรในอนาคต ซึ่งอาจจะเกิดหรือไม่ก็ได้
- คน — มีคน 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ที่มีผลต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวของสตาร์ทอัพ ซึ่งก็คือ ผู้ใช้ และผู้ก่อตั้ง (หรือผู้บริหาร) ของสตาร์ทอัพนั้น ๆ สตาร์ทอัพหลายแห่งสร้างสินค้าหรือนวัตกรรมของตนจากไอเดียของผู้ก่อตั้งเพียงอย่างเดียว บางแห่งได้รับการตรวจสอบไอเดีย (Validate idea) โดยคณะกรรมการการแข่งขันสตาร์ทอัพต่าง ๆ แต่ทั้งหมดนี้ไม่ใช่ผู้ใช้ของสตาร์ทอัพนั้นจริง ๆ ซึ่งอาจทำให้เราได้นวัตกรรมที่ไม่เป็นที่ปรารถนาของผู้ใช้ ซึ่งเค้าก็จะไม่เต็มใจที่จะจ่ายเงินในการซื้อหรือใช้นวัตกรรมนั้น ๆ ที่แย่คือสตาร์ทอัพบางแห่งไม่มีการตรวจสอบไอเดียใด ๆ เลย ซึ่งการตรวสอบนี้ขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์ของผู้ก่อตั้งหรือผู้บริหารซึ่งเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะพัฒนาและจะเปิดขายอะไรและเมื่อไร หากคนกลุ่มนี้เชื่อมั่นในตนเองมาก จนตัดสินใจว่าจะไม่ตรวจสอบไอเดียของตน นวัตกรรมที่สร้างขึ้นก็ไม่น่าจะตอบสนองความต้องการของผู้ใช้และไม่เป็นที่น่าปรารถนาสำหรับผู้ใช้นั่นเอง อีกปัญหาหนึ่งเกี่ยวกับคน ก็คือ การไม่มีทักษะในการบริหารจัดการและการไม่มีวิสัยทัศน์ของผู้ก่อตั้งหรือผู้บริหาร หากผู้ก่อตั้งหรือผู้บริหารของสตาร์ทอัพใด ๆ ไม่มีความเข้าใจที่ดีในการบริหารกิจการ โดยเฉพาะด้านการตลาด ด้านการเงิน และทรัพยากรมนุษย์ กิจการนั้น ๆ ก็จะเป็นไปได้ยากที่จะทำเงินหรือสร้างกำไรในท้ายที่สุด ผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจ หรือ Decision maker เป็นบุคคลสำคัญในการดำเนินธุรกิจไม่เฉพาะแต่เพียงสตาร์ทอัพเท่านั้น ผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพไม่ควรมีเพียงคนที่มีทักษะทางเทคนิคเท่านั้นแต่ควรมีผู้ที่มีความเป็นผู้นำที่ดีและมีทักษะด้านการบริหารจัดการที่เป็นเลิศอีกด้วยเพื่อที่จะให้สตาร์ทอัพนั้น ๆ เติบโตและทำกำไรต่อไปในอนาคต ไม่ใช่แค่อยู่รอดด้วยการหาเงินทุนเท่านั้น
เพื่อที่จะทำให้สตาร์ทอัพของเราเติบโต นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพออีกต่อไปในยุคนี้ ยุคที่นักลงทุนตระหนักถึงความไม่แน่นอนของตลาดและความล้มเหลวของสตาร์ทอัพที่เกิดขึ้น เราต้องการนวัตกรรมที่เป็นนวัตกรรมที่เป็น “real-win-worth it” “ธุรกิจ” และ “คน” มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จของธุรกิจต่าง ๆ “ธุรกิจ” หมายรวมถึง โมเดลธุรกิจ คุณค่าที่นำเสนอ ที่มาของรายได้ โครงสร้างต้นทุน และด้านอื่น ๆ ที่รวมกันทำให้ธุรกิจของเราดำเนินการได้ “คน” หมายถึง ทีมบริหาร ผู้ใช้ และผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและตรวจสอบสินค้าของสตาร์ทอัพนั้น ๆ เพื่อให้มั่นใจว่านวัตกรรมที่เราสร้างขึ้นเป็นที่น่าปรารถนา เมื่อนวัตกรรมของเราเป็นที่น่าปรารถนาสำหรับผู้ใช้ ซึ่งจะหมายความว่าผู้ใช้ก็น่าจะเต็มใจจ่ายเงินในการใช้หรือซื้อนวัตกรรมของเรานั่นเอง นั่นคือ อย่างน้อยธุรกิจของเราก็จะมีลูกค้าและสร้างรายได้ให้อยู่รอดได้
For English version, please visit: What’s lead to failure of start ups
ใครสนใจมาร่วมเรียนรู้ด้วยกันกับ A Cuppa Academy เดือนมีนาคม 2563 เราเปิด 2 คอร์สด้วยกัน:
– 8 มีนาคม 2563 10.00–18.00 น กับคอร์ส The First Step to Become a Real UX Designer รุ่นที่ 6 สำหรับนักออกแบบ UX/UI และนิสิตนักศึกษาที่สนใจด้านการออกแบบ UX/UI เจ้าของกิจการ SME และ Start ups ที่ต้องการเรียนรู้กระบวนการออกแบบ UX อย่างครบถ้วนจากผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ UX/UI ผู้มีประสบการณ์กว่า 18 ปี
– 29 มีนาคม 2563 10–18.00 น กับคอร์ส A Practical Way of Data Driven Strategic Digital Marketing รุ่นที่ 5 (หลักสูตรปรับปรุงจากคอร์ส A Day with Digital Marketing on Facebook รุ่นที่ 1–4) คอร์สนี้ อ.เจ และ อ.น๊อต จะมาสอนการวางกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ การเลือกใช้ช่องทางต่าง ๆ ให้เหมาะสมไม่จำกัดเพียง Facebook อีกต่อไป เพราะไม่ว่าจะเป็นนักการตลาด หรือเจ้าของกิจการ ก็ต้องวางกลยุทธ์และเลือกช่องทางให้เหมาะสมกับสินค้าและบริการของเราเพื่อให้ธุรกิจของเราอยู่รอดได้ในสภาวะที่มีการแข่งขันสูงเช่นนี้
Photo Credits:
Photos by Startaê Team, Austin Distel, Ben Kolde, You X Ventures and Proxyclick Visitor Management System on Unsplash