เริ่มปฏิรูปสู่ดิจิทัล ก่อนเผชิญการผลิกผัน

เริ่มปฏิรูปสู่ดิจิทัล ก่อนเผชิญการผลิกผัน
Ref: http://inews.bangkokbiznews.com/read/365536

“การปฏิรูปสู่ดิจิทัล” หรือ “Digital Transformation” คำนี้อาจฟังดูน่ากลัวสำหรับหลาย ๆ คน แต่ก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าปัจจุบันเราได้ก้าวเข้าสู่โลกดิจิทัลกันแล้วทุกคน เริ่มตั้งแต่การก่อกำเนิดของคอมพิวเตอร์เมื่อหลายสิบปีที่ผ่านมา แต่การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในชีวิตประจำวันของทุกคนนั้นเริ่มแพร่หลายเมื่อประมาณสิบปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ Smart Phone ได้ก่อกำเนิดขึ้น และกลายเป็นหนึ่งในสิ่งที่ขาดไม่ได้ของการดำรงชีวิตของเราในแต่ละวัน คนในพื้นที่ EEC ซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษก็เช่นกัน หลายคนก้าวเข้าสู่โลกดิจิทัลกันตั้งแต่ตื่นนอน เปิดโทรศัพท์อ่าน Line อ่าน Facebook กัน ดิจิทัลจึงเป็นเรื่องใกล้ตัวทุกคน

การนำเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น Internet of Things (IOT), Artificial Intelligence (AI), Big Data ร่วมกับออกแบบเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการธุรกิจต่าง ๆ จึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ขึ้นอยู่กับว่า เราเลือกที่จะเป็นผู้นำในการปฏิรูปและก่อให้เกิดการผลิกผันทางดิจิทัล หรือจะเป็นผู้ที่ต้องเผชิญกับการผลิกผันที่เกิดจากการปฏิรูปของผู้อื่น ซึ่งอาจทำให้องค์กรธุรกิจยักษ์ใหญ่ที่เชื่องช้า กลายเป็นผู้แพ้ในการแข่งขันยุคดิจิทัลได้ กล่าวคือ ในอดีต เราจะได้ยินคำว่า ปลาใหญ่ กิน ปลาเล็ก แต่ในยุคนี้ด้วยการนำเทคโนโลยีมาช่วย ทำให้ปลาใหญ่บางตัวกลายเป็นปลาที่เชื่องช้า และปลาเล็กกลายเป็นปลารวดเร็วและว่ายเข้าเส้นชัยไปได้ก่อนนั่นเอง

บทความนี้ ผู้เขียนได้แรงบันดาลใจมาจากวิสัยทัศน์ของผู้บริหารบริษัทมหาชนแห่งหนึ่งซึ่งอยู่ในอุตสาหกรรมที่ยากที่จะโดน Disrupted แต่ผู้บริหารก็ยังเล็งเห็นความสำคัญของการปฏิรูปการทำงานของบริษัทสู่ดิจิทัล ผู้เขียนเลยอยากบอกเล่าให้ทุกคนทราบว่าการปฏิรูปสู่ดิจิทัลที่ดี นั้นมิใช่แค่การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงาน แต่ต้องเริ่มจากการสร้าง Mindset ของทุกคนในองค์กรที่จะต้องร่วมกันทำความเข้าใจการทำงานของกันและกัน กำหนดปัญหาและความต้องการของแต่ละฝ่าย ปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน และร่วมกันหาทางออกให้กับปัญหานั้น ๆ ด้วยกัน เพื่อให้ประสิทธิภาพในการทำงานดัขึ้น ซึ่งหลายคนอาจจะรู้จักชื่อ Design Thinking Process หรือ การคิดเชิงออกแบบ หรือมีอีกชื่อหนึ่งว่า Human Cantered Design Process เป็นการคิดเชิงสร้างสรรค์ผสมกับการคิดเชิงธุรกิจเพื่อระบุปัญหาและหาทางออกร่วมกัน เราสามารถนำกระบวนการคิดเชิงออกแบบนี้ ไปปรับใช้เป็นกรอบการทำงานในองค์กรเพื่อสร้าง Mindset ให้ทุกคนใส่ใจซึ่งกันและกัน มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงสาเหตุของปัญหาต่าง ๆ ร่วมแรงร่วมใจกันแก้ปัญหา ซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญของการบริหารงานแบบ Agile Management และเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการสร้างนวัตกรรมที่จะนำไปสู่การปฏิรูปสู่ดิจิทัลขององค์กรนั้น ๆ ได้อย่างแท้จริง โดยมีหลักการสั้น ๆ ว่า “Learn Fast, Fail Fast, Improve Faster”

ใครสนใจมาร่วมเรียนรู้ด้วยกันกับ A Cuppa Academy เดือนมีนาคม 2563 เราเปิด 2 คอร์ส ดังนี้:

  • 8 มีนาคม 2563 10.00–18.00 น กับคอร์ส The First Step to Become a Real UX Designer รุ่นที่ 6 สำหรับนักออกแบบ UX/UI และนิสิตนักศึกษาที่สนใจด้านการออกแบบ UX/UI เจ้าของกิจการ SME และ Start ups ที่ต้องการเรียนรู้กระบวนการออกแบบ UX อย่างครบถ้วนจากผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ UX/UI ผู้มีประสบการณ์กว่า 18 ปี ( เต็มแล้ว!!! )
  • 29 มีนาคม 2563 10–18.00 น กับคอร์ส A Practical Way of Data Driven Strategic Digital Marketing รุ่นที่ 5 (หลักสูตรปรับปรุงจากคอร์ส A Day with Digital Marketing on Facebook รุ่นที่ 1–4) คอร์สนี้ อ.เจ และ อ.น๊อต จะมาสอนการวางกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ การเลือกใช้ช่องทางต่าง ๆ ให้เหมาะสมไม่จำกัดเพียง Facebook อีกต่อไป เพราะไม่ว่าจะเป็นนักการตลาด หรือเจ้าของกิจการ ก็ต้องวางกลยุทธ์และเลือกช่องทางให้เหมาะสมกับสินค้าและบริการของเราเพื่อให้ธุรกิจของเราอยู่รอดได้ในสภาวะที่มีการแข่งขันสูงเช่นนี้

Reference:
– บทความนี้เขียนโดย อ.น๊อต สุธาศิณี สุศิวะ เพื่อตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 9 เมษายน 2562

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *